สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 

 

                              

                                                                       

    

ชื่อ

Thai Name

กะทกรก

Ka thok rok


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name

Passiflora foetida L.



วงศ์

Family  

PASSlFLORACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

กระโปรงทอง kra prong thong (ภาคใต้) เครือขนตาช้าง khruea khon th chang (ศรีสะเกษ) ตำลึง tam lueng (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตำลึงฝรั่ง tam lueng farang (ชลบุรี) เถาเงาะ thao ngo, เถาสิงโต thao singto (ชัยนาท) ผักขี้หิด phak khi hit (เลย) ผักแคบฝรั่ง phak khaep (ภาคเหนือ) เยี่ยววัว yiao wua (อุดรธานี) รก rok (ภาคกลาง) ละพุบาบี la-phu-ba-bi (มลายู-นราธิวาส ปัตตานี) หญ้าถลกบาตร ya thalok bat (พิษณุโลก อุตรดิตถ์) หญ้ารกช้าง ya rok chang (พังงา) Love in a mist, Running pop, Stinking oassion flower


ลักษณะ 

Characteristics

ไม้เถา มีมือสำหรับยึดเกาะ มีขนปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเว้าสามเฉก หลังใบและท้องใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาว ผล ทรงกลม มีใบประดับเป็นเส้นฝอยหุ้ม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองออมส้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้ม เมล็ดใส ฉ่ำน้ำ


การกระจายพันธุ์

Distribution

ขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าที่ราบ


 

ประโยชน์            Utilization

ใบ รสเมาเบื่อ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง แก้หิด ดอก รสเมา แก้ไอ ขับเสมหะ ทั้งต้น รสเมาเบื่อ ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม


วิธีใช้ "แก้โรคผิวหนัง"


นำใบสดมา 2กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมน้ำเล็กน้อยแล้วตำละเอียด นำมาทา วันละ 3-4 ครั้ง รักษาโรคผิวหนัง แก้คัน แก้หิด


Root: antidiabetic ; Stem: treatment of gonorrheal disesaes 


แหล่งข้อมูล

Reference 

        

- กกยาอีสาน น. 183

- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 170

- สมุนไพรไทย น. 42

- อนุกรมวิธานพืช อักษร ก น. 206

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 291

- สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5 น. 151


คิวอาร์โค้ด

QR Code

ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ

ข้อควรระวัง

- ทั้งต้น เป็นพิษ หากรับประทานอาจถึงแก่ชีวิต ต้องต้มให้สุกก่อน ต้นสดมีสารพิษทำให้ตายได้ พิษสลายเมื่อถูกความร้อน

- ผลอ่อน มีสารไซยาไนจินิกไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นพิษ เปลือกผล เมล็ดและใบ มีสารไม่คงตัวที่สลายแล้วเกิดสารไฮโดรไซยานิกเอชิค ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน และ อาเจีย


Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view