สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 

 

            

 

             

 

                                           

                      

    

ชื่อ

Thai Name

กฤษณา

Kritsana


    

ชื่อวิทยาศาสตร์  

Scientific Name   

Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte



วงศ์

Family

THYMELAEACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

ไม้หอม mai hom (ภาคตะวันออก) Eagle wood



ลักษณะ 

Characteristics 

ไม้ต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกเรียบและบางมีเส้นใยเหนียว ใบเดี่ยว มีเส้นใยเหนียวสีขาวตามแนวขวาง แผ่นใบมีขนประปรายตามขอบใบและเส้นกลางใบ ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น โคนเชื่อมติดกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลม มีขน ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น ผล ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม กว้างและยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ผิวมีขนกำมะหยี่หนาแน่นปกคลุม


การกระจายพันธุ์

Distribution      

พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ในประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออก  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม


ประโยชน์

Utilization

แก่นไม้ รสหอมสุขุม บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง แก้ปวดบวมตามข้อ น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อนและรักษาโรคผิวหนัง


เปลือกต้น ใช้ทำฝาบ้าน กั้นห้อง ทำเสื้อผ้า ถุงย่าม ที่นอน เชือก และกระดาษ เนื้อไม้อ่อน ใช้ก่อสร้างชั่วคราว ทำหน้าไม้ คันธนู ทำเรือ แก่น มีกลิ่นหอม ใช้ทำน้ำหอม เครื่องสำอาง ทำธูป


Heartwood: cardiotonic, blood tonic, stomachic, antidiarrheal, anti-emetic, antipyretic


แหล่งข้อมูล

Reference

- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 53 

- สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 76 

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น.135-136


พิกัด

UTM

101º 30´ 26.2" E 13º 45´ 02.6" N

47P 0770800 m.E 1520864 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code


ขยายพันธุ์โดย :  การเพาะเมล็ด เมล็ดจะมีอัตราการงอกประมาณ 70% การเก็บเมล็ดมาเพาะนั้นควรรีบเพาะเมล็ดที่เก็บมาทันที ก่อนที่แมลงและเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดจะทำให้เมล็ดไม่งอก กล้าไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะมีการเติบโตช้าและอาจฟุบตายได้จากโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อรา Peronophythora sp. โดยเฉพาะเมื่อเพาะในดินที่ไม่ได้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ


การขยายพันธุ์กฤษณาที่นิยมทำ คือ  การขุดกล้าไม้จากบริเวณต้นแม่มาปลูกในเรือนเพาะชำ จนกล้าไม้อายุราว 1 ปี ซึ่งกล้าไม้จะมีความแข็งแรงและการเจริญเติบโตพอที่จะย้ายไปปลูกในแปลง วิธีอื่นที่ใช้ขยายพันธุ์กฤษณา คือ การตอนกิ่ง และการปักชำ (วนิดา และคณะ, 2535)


นอกจากนั้นยังมีวิธีการขยายพันธุ์กฤษณาให้ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องนำเมล็ดจากป่ามาใช้ คือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกฤษณาในสภาพปลอดเชื้อ (สมคิด, 2525)


ข้อควรระวัง

ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์


Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view