สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 

 

 

    

ชื่อ

Thai Name

กระเบาใหญ่

Krabao Yai


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name 

Hydnocarpus castanea Hook. f. & Thomson



วงศ์

Family

ACHARIACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

กระเบา krabao (ทั่วไป) กระเบาค่าง krabao khang (ยะลา) กระเบาแดง krabao daeng (ตรัง) กระเบาตึก kra-bao-tuek (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาน้ำ krabao nam, กระเบาเบ้าแข็ง krabao bao khaeng, กาหลง ka long (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ Tua-hong-chi (จีน) เบา bao (สุราษฎร์ธานี) เบาดง bao dong (สตูล) มันหมู man mu (ตรัง) หัวค่าง hua khang (ภาคใต้) Chaulmoogra


ลักษณะ 

Characteristics  

ไม้ต้น สูง10-15 เมตร ต้นสูงโปร่ง เปลือกต้นเรียบ สีเทา ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกสีชมพู มีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปเรียว ขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบนม ขอบใบเรียบ ผล ทรงกลม ผลใหญ่ เปลือกแข็ง ผิวมีขน สีน้ำตาล เมล็ดอัดแน่น รีเบี้ยว ปลายมนทั้งสองข้าง


การกระจายพันธุ์

Distribution       

พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง เขาหินปูน และตามริมน้ำ ที่ความสูงจากระดับทะเล 30–1,300 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบแถบภูมิภาคอินโดจีน


ประโยชน์

Utilization

เนื้อไม้ สีขาวอมเหลือง เสี้ยนตรงเนื้อละเอียดใช้แกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ของเล่นสำหรับเด็ก เปลือกต้น ขับปัสสาวะ ใบ รสเบื่อเมา แก้กลากเกลื้อน ผล รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวหนัง เรื้อน เมล็ด รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง รักษาผมร่วง น้ำมันจากเมล็ด เรียกน้ำมันกระเบา รักษาโรคเรื้อน ชันนะตุ หิด แก้ปวดบวมตามข้อ แก้ปวดท้อง รากและเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ รักษาแผล ดับพิษต่าง ๆ


Fixed oil from seed: treatment of leprosy and other skin diseases


แหล่งข้อมูล

Reference

-  สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 122 

-  สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 204 

-  พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 102-103 

-  สมุนไพรไทย น. 34 

-  สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 109-110 

-  สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 7-8


พิกัด

UTM

47P 0770784 m.E 1520867 m.N

47P 0771138 m.E 1521518 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code


ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด                                                                                                                                                                                                                                

วิธีใช้ "รักษาโรคหนังศีรษะ"

นำเมล็ดกระเบาใหญ่มา 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้แหลก นำมาทอดด้วยไฟอ่อนในน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว

หรือน้ำมันบัว กรองเอาเศษเมล็ดออก ทิ้งให้น้ำมันเย็น นำน้ำมันมาทาบริเวณผิวหนังบนศีรษะที่มีอาการ


ข้อควรระวัง

ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษอย่างไรก็ตาม ยาสมุนไพรทุกชนิดไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือสามารถรับประทานได้ภายใต้การดูแลของแพทย์


Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view