สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครพนม


 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                       

   

ชื่อ

Thai Name      

กันเกรา

Kan krao


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name 

Fagraea fragrans Roxb.



วงศ์

Family

GENTIANACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

ตะมะซู ta-ma-su, ตำมูซู tam-mu-su (มลายู-ภาคใต้) ตาเตรา ta-trao (เขมร-ภาคตะวันออก) ตำเสา tam sao, ทำเสา tham sao (ภาคใต้) มันปลา man pla (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ) Tembesu


ลักษณะ 

Characteristics  

ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร เปลือกต้น สีน้ำตาลเข้ม แตกระแหงเป็นร่องลึก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปมน รูปรี แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนาคล้ายหนัง ปลายใบแหลม ดอกช่อ สีขาวเหลือง กลิ่นหอมเย็น ผล กลมเล็ก สีส้ม เมื่อแก่เป็นสีแดงเลือดนก มีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก


การกระจายพันธุ์

Distribution

พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค แต่พบมากทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย


ประโยชน์

Utilization

เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง ทำเสาเรือน ไม้กระดานปูพื้น ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้กินเป็นผักสดได้ ปลูกเป็นไม้ประดับ

แก่น มีรสฝาด ขับลม แก้ไข้จับสั่น บำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้หืด แก้ไอ รักษาริดสีดวง และเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกต้น ใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ใบ บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น รักษาโรคหืด รักษาผิวหนังพุพอง บำรุงโลหิต


วิธีใช้ "แก้ไข้ แก้ท้องเสีย" นำแก่นกันเกรามา 30-60 กรัม ต้มเดือด 10-15 นาที ให้น้ำท่วมตัวยา กรองกากออก ปล่อยให้เย็น ดื่มครั้งละ 1 แก้วกาแฟ (150 ml) เมื่อมีอาการ


Leaf: antimalarial, stomachic, antiasthmatic; external use for mild infectious skin diseases


แหล่งข้อมูล

Reference

-  สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 112

-  สมุนไพรไทย น. 46

-  สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 205-206


พิกัด

UTM

47P 0770583 m.E 1521735 m.N 

47 P0770788 m.E 1521341 m.N

47P 0770814 m.E 1520876 m.N

47P 0770886 m.E 1521196 m.N

47P 0770919 m.E 1521029 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code


ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ดและการปักชำ


ข้อควรระวัง

ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการไม่พึงประสงค์ควรไปพบแพทย์                                                                                                                                                                                                                             

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view