สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 


         

 

 

ชื่อ

Thai Name    

กระโดน                                                           

Kradon

 

ชื่อวิทยาศาสตร์   

Scientific Name    

Careya arborea Roxb.



วงศ์

Family           

LECYTHIDACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name  

กะนอล ka-non (เขมร) ขุย khui (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) แซงจิแหน่ saeng-chi-nae, เส่เจ๊อบะ se-choe-ba (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปุย pui  (ภาคใต้ ภาคเหนือ) ปุยกระโดน pui kradon (ภาคใต้) ปุยขาว pui khao, ผ้าฮาด pha hat (ภาคเหนือ) พุย phui (ละว้า-เชียงใหม่) หูกวาง hu kwang (จันทบุรี)  Wild guava


ลักษณะ 

Characterist 

ไม้ต้น สูง 10-20 เมตร เปลือกต้น สีดำหรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น ใบเดี่ยว  เรียงเวียนรอบกิ่ง รูปไข่กลับ ปลายใบมน ดอกช่อ แบบกระจะ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบสีชมพู ดอกบานกลางคืนและมักร่วงตอนเช้า ผล กลมหรือรูปไข่ มีเนื้อสีเขียว ค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ เปลือกหนา ผสสดสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมล็ด แบน รูปไข่

 

การกระจายพันธุ์

Distribution   

พบขึ้นตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณชื้น จนถึงที่ความสูงจากระดับทะเลประมาณ 500 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบตั้งแต่อัฟกานิสถาน อินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีนจนถึงภาคเหนือของมาเลเซีย ออกดอกช่วงเดือนมกราคม–เมษายน ออกผลราวเดือนกุมภาพันธ์–มิถุนายน


ประโยชน์

Utilization      

เปลือกต้น รสฝาดเมา แช่น้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้พิษงู แก้อักเสบจากงูกัด ใช้เป็นยาสมาน แก้เคล็ดเมื่อย ใบ รสฝาด ใช้รักษาแผลสด โดยนึ่งให้สุกใช้ปิดแผล หรือปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล ดอก รสสุขุม บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ ผล รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงหลังคลอด เมล็ด รสดฝาดเมา เป็นพิษ ใบอ่อนและยอดอ่อน รสฝาด รับประทานสดเป็นผักจิ้ม


เนื้อไม้ สีแดงแก่ แข็ง ทนทานใช้ก่อสร้างภายใน เช่น ทำเสา กระดาน รอด ตง อกไก่ ทำเครื่องใช้ ครก สากกระเดื่อง เปลือกต้น ใช้ทำเชือก ใบอ่อน รับประทานได้


Stem bark: anti-inflammatory for snake bite, astringent


แหล่งข้อมูล

Reference     

- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 12

- พรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออก (ขาหินซ้อน) น. 82

- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 55

- สมุนไพรไทย น. 24

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 42

- สมุนไพรไทย ตอนที่ 3 น. 236

- พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 162-163 

- สารานุกรมสมุนไพร น. 76

- พืชป่าสมุนไพร น. 183 


พิกัด

UTM

47P 0771087 m.E 1521530 m.N

47P 0771157 m.E 1521497 m.N

47P 0771720 m.E 1522415 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code

ขยายพันธุ์โดย :  การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง                                                                                                                                                                                                                               

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view