|
|
ชื่อ Thai Name
|
ชงโค Chong kho |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Bauhinia purpurea L. |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) Orchid tree, Purple bauhinia
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 เมตร ผลัดใบช่วงสั้น ๆ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายใบเว้าลึก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง 6-10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลางเมื่อบานวัดผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร เกสรผู้ 3 อัน รังไข่มีขน ผลเป็นฝัก แบนยาว 20-25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก สีน้ำตาลดำ เมล็ดกลมมี 10 เมล็ด |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ปัจจุบันนำมาปลูกริมทาง และสถานที่ราชการ สามารถขึ้นได้ดีทั่วไป มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก ขับลม เป็นยาระบาย ระบายพิษไข้ และช่วยเจริญอาหาร เปลือก แก้ท้องเสีย ใบ แก้ไอ แก้ไข้ พอกฝี ดอก ระบายพิษไข้ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
สมุนไพรไทย น. 99 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 739 สมุนไพรไทย น. 99 สารานุกรมสมุนไพร น. 176
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน |
||
ประวัติต้นชงโค ชื่อของชงโคนั้นมาจากใบชงโคมีลักษณะเป็นใบแฝดติดกันคล้ายรอยเท้าวัว สำหรับบ้านเรายังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจมาจากชื่อที่ยังไม่ไพเราะ มีความหมายดีถูกใจคนไทยก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้นชงโคก็จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะสำหรับชาวฮินดูแล้วถือว่าต้นชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ที่อยู่ในเทวโลก และยังนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมี (พระชายาของพระนารายณ์) จึงควรค่าแก่การเคารพบูชาและปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในฐานะต้นไม้ประดับ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ อีกหลายโรงเรียน เช่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนปิยะบุตร์ ฯลฯ
|