สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 

 

 

 

 

  

                 

 

    

ชื่อ

Thai Name  

ชำมะเลียง

Cham maliang


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name

Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.



วงศ์

Family

SAPINDACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name       

โคมเรียง khom riang (ตราด) ชำมะเลียงบ้าน Chamma liang ban,  พุมเรียงสวน phum riang suan (ภาคกลาง) พุมเรียง phum riang (ภาคใต้) พูเวียง phu wiang (นครราชสีมา) มะเถ้า ma thao (ภาคเหนือ)

   

ลักษณะ 

Characteristics  

ไม้ต้น สูง 4-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปรี ขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบเป็นแผ่นกลม ดอกช่อ ออกที่กิ่งและลำต้น กลีบดอกบาง รูปรี กลีบเลี้ยงรูปรี สีม่วง ผล ทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลสดสีเขียวอมม่วงแดง   เมื่อสุกสีม่วงดำ เนื้อผลฉ่ำน้ำ เมล็ดเดี่ยว กลม ผิวเรียบ สีดำ


การกระจายพันธุ์

Distribution      

ตามแนวชายป่าหรือริมลำธาร ที่ความสูงจากระดับทะเลถึง 1,000 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค พบมากในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม


ประโยชน์           

Utilization

ราก แก้ไข้เหนือ แก้ผูกไม่ถ่าย แก้ร้อนใน แก้ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้กำเดา กระสับกระส่าย ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ผล แก้ท้องเสีย


Fruit: antidiarrheal


วิธีทำ “น้ำชำมะเลียง”

1. เลือกผลชำมะเลียงที่สุกงอมมา 1 ถ้วย มาล้างให้สะอาด ใส่ลงในภาชนะ
2. เตรียมน้ำต้มสุก 1½ ถ้วย เติมน้ำลงไปเล็กน้อย ยีผลชำมะเลียงให้เมล็ดออกจากเนื้อ
3. เติมน้ำที่เหลือลงไป กรองเอาเมล็ดและเปลือกออก เติมน้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย และเกลือ 1 ช้อนชา ลงไป
4. แต่งรสตามต้องการ เทใส่แก้ว พร้อมรับประทาน


แหล่งข้อมูล

Reference          

- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน น. 70

- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 138-139

- สมุนไพรไทย น. 105 

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1)            


พิกัด

UTM

47P 0772065 m.E 1521222 m.N  

47P 0772117 m.E 1521296 m.N

47P 0772229 m.E 1521156 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code

ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด                                                                                                                                                                                                                                

ข้อควรระวัง

ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์           

 

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  [Next]
view