สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดร้อยเอ็ด


 

 

 

    

ชื่อ

Thai Name

กระบก

Krabok


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name 

Irvingia malayana Oliv. ex A. W. Benn.



วงศ์

Family

IRVINGIACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

กะบก kabok, จะบก chabok, ตระบก trabok (ภาคกลาง) จำเมาะ cham-mo (เขมร) ซะอัง sa-ang (ชอง-ตราด) บก bok, หมักลื่น mak luen, หมากบก mak bok (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะมื่น ma muen, มื่น muen (ภาคเหนือ) มะลื่น ma luen (นครราชสีมา สุโขทัย) หลักกาย lak-kai (ส่วย-สุรินทร์)  


ลักษณะ 

Characteristics

ไม้ต้น สูงถึง 30 เมตร ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอนจำนวนมาก เปลือกค่อนข้างเรียบ-ขรุขระ ปลายกิ่งมีหูใบเรียวยาวและโค้งคล้ายเคียว ใบเดี่ยว รูปรีแกมไข่ เรียงสลับ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง ดอกออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาวอมเขียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายมน กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง เมื่อดอกบานปลายกลีบจะพับเข้าหาก้านดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงเป็น 2 ชั้น รังไข่มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น มีอันเดียว ผลรูปกลมรี ยาว 3-6 เซนติเมตร คล้ายผลมะม่วงขนาดเล็ก เมื่อสุกสีเหลือง มีเนื้อหุ้มเหมือนมะม่วง เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดสีขาว มีน้ำมัน


การกระจายพันธุ์

Distribution

พบขึ้นตามป่าผลัดใบและป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับทะเล 150–300 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ออกผลระหว่างช่วงเดือน กุมภาพันธ์- สิงหาคม


ประโยชน์

Utilization 

เนื้อไม้ ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิในเด็ก ใบ แก้คันผิวหนัง เมล็ด รสมันร้อน บำรุงไขข้อในกระดูก แก้เส้นเอ็นพิการ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย บำรุงไต แก้ข้อขัด เนื้อในเมล็ด นำมาคั่วสุกมีรสมัน รับประทานได้ น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทำสบู่และเทียนไข ผลสุก เป็นอาหารสัตว์ป่า


เนื้อไม้ แข็งและหนัก เสี้ยนตรง ไม่แตกแยกเมื่อแห้ง ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม


Leaf: itching ; Seed: kidney tonic


แหล่งข้อมูล

Reference

-  สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 105

-  พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 144-145

-  สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน น. 97

-  สารานุกรมสมุนไพร น. 85   


คิวอาร์โค้ด

QR Code


ขยายพันธุ์โดย :  การเพาะเมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมาก ก่อนเพราะอาจช่วยการงอกด้วยการตัดหัวท้ายของเมล็ดหรือขลิบตามรอยแยกของเมล็ด พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นที่ลุ่มมีน้ำขัง ดินเป็นดินร่วน-ดินร่วนปนทราย  มีการระบายน้ำดี ปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,000 มิลลิเมตรขึ้นไป การเตรียมพื้นที่จัดเตรียมค่อนข้างละเอียดและมีการไถพรวน กล้าที่ใช้ปลูกควรเป็นกล้าค้างปี ขนาดของหลุมที่ขุดปลูก 30x30x30–50x50x50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์รองก้นหลุมส่วนระยะปลูกที่เหมาะสม 4x4, 4x6, 4x8, 6x6, และ 8x8 เมตร ในช่วงระยะปลูกแรก ๆ ใช้พืชเกษตรปลูกควบตามระบบวนเกษตร เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตมีการแก่งแย่ง ควรมีการตัดสางขยายระยะจนเหลือระยะปลูก 8x8 หรือ 12x12 หรือ 16x16 เมตร

       

ข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ห้ามใช้สมุนไพรนี้ เนื่องจากทำให้แท้งบุตร ไม่ควรใช้สมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  [Next]
view