|
|
ชื่อ Thai Name |
โมกแดง Mok Daeng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Wrightia dubia (Sims) Spreng. |
|
วงศ์ Family |
APOCYNACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
มุ มูก (ตรัง) มูกมัก (ภูเก็ต) โมกป่า (จันทบุรี) โมกมัน (นครราชสีมา)
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง แผ่นใบด้านล่าง มีขนบริเวณเส้นใบ ดอกช่อ กลีบดอกสีส้ม ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อห้อยลง กลีบดอกเชื่อมติดกันบริเวณโคนเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอมเอียน ผลเป็นฝักคู่ รูปกระสวย เมล็ดเป็นเส้น มีขนเป็นพู่ที่ปลาย |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบ ที่ความสูงจากระดับทะเล 100-400 เมตร พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกดอกเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม |
||
ประโยชน์ Utilization |
ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีรูปทรงสวยงาม บานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอม |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไทย น. 246 - สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน น. 168-169 - พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9 เล่ม 2 น. 28 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771435 m.E 1520761 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และแยกหน่อที่แตกจากรากใต้ดิน
|