|
|
ชื่อ Thai Name
|
แมงลัก Maeng lak |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Ocimum americanum L. |
|
วงศ์ Family |
LAMIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ก้อมก้อขาว (ภาคเหนือ) มังลัก (ภาคกลาง) อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ) Hoary basil
|
||
ลักษณะ Characteristics |
พืชล้มลุกในสกุลกะเพราและโหระพา มีกลิ่นหอมแรง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่ง ดอกจะบานจากล่างไปบน กลีบดอก สีขาวแบ่งเป็น2 ปากและร่วงง่าย ผล 1 ดอก มีผล 4 ผล มีขนาดเล็ก เรียกว่าเม็ดแมงลักซึ่งมีลักษณะกลมรีและมีสีดำ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ในทางสมุนไพร : ใบ ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ช่วยขับเหงื่อ บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อย หรืออาการคันจากเชื้อรา สกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และ น้ำหอม รวมถึงใช้ในด้านความงาม เมล็ดแก่ แก้ท้องผูก ใช้ลดความอ้วน ลดอาการท้องผูก |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
|
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง - หากใช้เมล็ดแมงลักที่ยังพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้มีการดูดน้ำจากลำไส้เกิดอาการขาดน้ำ และอาจเกิดอาการลำไส้อุดตันได้ (โดยเฉพาะแมงลักที่บดเป็นผง) - ไม่ควรรับประทานเม็ดแมงลักในปริมาณมากๆ เพราะอาจจะเกิดอาการอึดอัดแน่นท้องและรู้สึกไม่สบายตัวได้ - ไม่ควรรับประทานเม็ดแมงลักพร้อมกับยา เพราะอาจทำให้ร่างกายดูดซึมยาได้ไม่ดี - สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การรับประทานเม็ดแมงลักแทนมื้ออาหารควรรับประทานเป็นบางมื้อ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้
|
||
|