|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะยม Ma yom |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Cicca acidus (L.) Merrill. |
|
วงศ์ Family |
PHYLIANTHACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
หมากยม หมักยม (ภาคอีสาน), ยม (ภาคใต้) Otaheite gooseberry, Star gooseberry |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 3-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง กิ่งก้านเปราะหักง่าย เปลือกต้น สีน้ำตาลอ่อนปนเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกตามลำต้นและกิ่ง ดอกย่อยสีแดงขนาดเล็ก ผล ทรงกลมแป้น เป็นพูรอบผล ผิวเรียบ เมื่อสุกสีขาวอมเหลืองเมล็ดเดียวแข็ง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบที่ความสูงจากระดับทะเล 200-2,300 เมตร พบที่กัมพูชา อินเดีย มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย อเมริกา
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ รสจืดมัน แก้ปวดศีรษะ แก้คัน ผล รสเปรี้ยว แก้ไอ ปรับสมดุลในร่างกาย บำรุงเลือด เป็นยาระบาย ราก รสจืด แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง ในทางสมุนไพร วิธีใช้ "เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ" นำผลแก่มาดองในน้ำเชื่อม น้ำ 1 ส่วน น้ำตาล 3 ส่วน ดองไว้ 3 วัน รับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ สำหรับความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุไว้ว่าให้ปลูกต้นมะยมในทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้มากล้ำกราย และเชื่อว่ามะยมเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า “นิยม” ซึ่งเชื่อว่าผู้ปลูกจะมีเมตตามหานิยม |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 180 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 1 น. 154-155 - สมุนไพรไทย น. 233 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 663-664 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 701-702 |
||
พิกัด UTM |
47P 0770777 m.E 1520869 m.N 47P 0770876 m.E 1520994 m.N 47P 0771052 m.E 1521419 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง ข้อควรระวัง - ควรระวังน้ำยางจากเปลือกของรากมะยม เนื่องจากมีพิษเล็กน้อย อาจทำให้ศีรษะ และง่วมซึม - ผลมะยมมีรสเปรี้ยวมาก รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียและเสียวฟันได้
|
||
|