พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุรินทร์
|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะค่าแต้ Ma kha tae |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Sindora siamensis Teijsm. & Miq. var. siamensis |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง) กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา) ก่อเก๊าะ ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์) แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะค่าหนาม (ภาคกลาง ภาคเหนือ) มะค่าหยุม (ภาคเหนือ) |
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร เปลือกต้น เรียบสีเทาคล้ำกิ่งอ่อนมีขนคลุมบาง ๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ต่ำ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือที่ง่ามใบ กลีบดอกสีเหลืองแดง ผลเป็นฝักแบน รูปไข่ มีหนาม แต่ละฝักมีเมล็ด 1 - 3 เมล็ด |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นกระจัดกระจายในป่าเต็งรัง ป่าชายหาดทั่ว ๆ ไป และป่าเบญจพรรณแล้ง ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ สามารถขึ้นได้ดีบนพื้นที่ที่เสื่อมโทรม ค่อนข้างแห้งแล้ง ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่เดือนกรกฎาคม-กันยายน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก แก้ซางและแก้อีสุกอีใส ปุ่ม รักษาโรคผิวหนัง รักษาริดสีดวงทวาร ขับพยาธิ เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ
เนื้อไม้ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่ ค่อนข้างหยาบ แข็งแรง ทนทาน ทนมอดปลวกได้ดี แต่ไสกบตบแต่งยาก ใช้ก่อสร้างและเครื่องมือการเกษตร ไถ คราด และส่วนประกอบเกวียน ฝักและเปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 204-205 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) 542-543 - พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 72-73
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 20.1" E 13º 44´ 56.4" N 47P 0770764 m.E 1520959 m.N 47P 0770766 m.E 1520961 m.N 47P 0770905 m.E 1521100 m.N 47P 0771282 m.E 1521673 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด ตัดและทำแผลที่ปลายเมล็ด แล้วนำไปแช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน
|
||
|