พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะขาม Ma kham |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Tamarindus indica L. |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ตะลูบ (ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากเกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) Indian date, Tamarind
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูงประมาณ 10 - 30 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ตามปลายกิ่งและซอกใบ มีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองประแต้มสีแดงส้ม ผลเป็นฝัก แบน เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อ แรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่จัด เมล็ด รูปค่อนข้างกลมแป้น เปลือกผิวเกลี้ยงมีสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียและอัฟริกาเขตร้อน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก รสฝาด แก้ท้องเสีย เปลือกต้น รสฝาดเมาร้อน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย สมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง แก่น รสฝาดเมา กล่อมเสมหะและโลหิต รักษาฝีในมดลูก เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่ ใบ รสเปรี้ยวฝาด ช่วยย่อยอาหาร ใช้อบอาบสมุนไพร ผลหรือฝักดิบ รสเปรี้ยว ช่วยฟอกเลือดและลดความอ้วน เป็นยาระบาย ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้ เนื้อในฝัก รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ขับเสมหะ บำรุงผิวพรรณ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ลบรอยแผลเป็นและรอยเหี่ยวย่น เมล็ดใน รสมัน ขับพยาธิไส้เดือนในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน บำรุงกำลัง ทั้งต้น รสฝาดเมา แก้ไข้ตัวร้อน ส่วนที่ให้สี : ใบให้สีเหลือง |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 198 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 116 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 200-209 - สมุนไพรไทย น. 214 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 494-501 - สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 62-63
|
||
พิกัด UTM |
47P 0771685 m.E 1522467 m.N 47P 0771694 m.E 1522444 m.N 47P 0772092 m.E 1521247 m.N 47P 0772269 m.E 1521276 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการทาบกิ่ง |
||
|