พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสระแก้ว
|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะขามป้อม Ma kham pom |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Emblica officinalis Gaertn. |
|
วงศ์ Family
|
PHYLLANTHACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กันโดด (เขมร-จันทบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มั่งลู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) Indian gooseberry, Malacca tree
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ใบเดี่ยว ดอกช่อ สีเขียวอมเหลือง ออกที่ง่ามใบ ผลกลม มีสีเขียวอมเหลืองเมื่อสุก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าละเมาะ ที่ความสูงจากระดับทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่อินเดีย จีน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ติดผลเดือนเมษายน-พฤษภาคม
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก แก้ไข้ ฟอกโลหิต เปลือก สมานแผล ใบ ลดไข้ ดอก ระบายท้อง ผล แก้ไอ แก้ไข้ ละลายเสมหะ บำรุงร่างกาย เป็นยาระบาย แก้เลือดออกตามไรฟัน เนื้อไม้ใช้ทำเสาเรือนเล็ก ๆ ทำเครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืน เผาถ่าน เปลือกและใบให้สีน้ำตาลแกมเหลือง ใช้ย้อมผ้า เนื้อในเมล็ดใช้รับประทานได้ น้ำมันที่ได้จากเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ เทียนไข ผลสุกเป็นอาหารพวกเก้งกวางและนก คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว
|
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 161 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 127 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 158-159 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 510-517 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 705-706 - สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 64-65 - พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 127
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 24.7" E 13º 45´ 01.6" N 47P 0770623 m.E 1520620 m.N 47P 0770784 m.E 1520992 m.N 47P 0770827 m.E 1520959 m.N 47P 0770853 m.E 1520994 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|