|
|
ชื่อ Thai Name
|
มังคุด Mang khut |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Garcinia mangostana L. |
|
วงศ์ Family
|
CLUSIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
Mangosteen
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลืองน้ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ ดอกสีเหลือง ขอบกลีบสีชมพู ผลสุกสีม่วง เมล็ด ไม่สามารถใช้รับประทานได้
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบปลูกมากในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ และฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตมังคุดมากที่สุดในโลก รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย โดยแหล่งปลูกมังคุดที่สำคัญของไทยจะอยู่บริเวณพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออก
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
น้ำต้มจากเปลือกต้นและใบ ฝาดสมาน รักษาแผลในปาก ลดไข้ ยางจากต้น เป็นยาระบาย ใบและดอก แก้บิดมูกเลือด เปลือกผล ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย รักษาแผลพุพองเน่าเปื่อย รักษาแผลในปาก แก้ผดผื่นคัน ส่วนที่ให้สี : เปลือกผลให้สีม่วงแดง |
||
แหล่งข้อมูล Reference คิวอาร์โค้ด QR Code
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 114 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 740-745 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 65-66
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด การเสียบยอด และการทาบกิ่ง |
||
|