|
|
ชื่อ Thai Name |
แคหัวหมู Khae huamu |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Markhamia stipulata (Wall.) Seem. var. stipulata |
|
วงศ์ Family |
BIGNONIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ขุ่ย แคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แคขอน แคห่างค่าง (เลย) แคปุ๋มหมู (เชียงใหม่) แคยอดดำ (ภาคใต้) แคว (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แคหมากลิ่ม (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) แคหมากลิ่ม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แคหมู (ภาคกลาง) แคอาว (นครราชสีมา) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบย่อย รูปขอบขนานหรือเป็นรูปแกมรูปรี หรือแกมรูปใบหอก โคนใบแหลมถึงเกือบกลม ส่วนปลายใบแหลม แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนขึ้นอยู่ประปราย ดอกช่อ มีดอกประมาณ 4-10 ดอก มีขนปุย กลีบดอก สีเหลืองตุ่น ๆ บางครั้งอาจปนสีแดงอยู่ด้านใน ฝัก รูปแถบ ยาวประมาณ 30-70 เซนติเมตร ฝักมีขนปุย ๆ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าคืนสภาพ ที่ความสูงจากระดับทะเลประมาณ 1,000 เมตร ส่วนในต่างประเทศ 1,700 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคใต้ตอนบน ในต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน |
||
ประโยชน์ Utilization |
เปลือกต้น ใช้ต้มกินเป็นยารักษาโรคอัมพฤกษ์ เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ดอก (กลีบดอก) และผลอ่อนหรือฝักอ่อน นำมาลวกหรือนึ่งกินกับน้ำพริกหรือจะนำไปยำก็ได้ หรือจะนำดอกมาปิ้งแล้วสับคั่วกับน้ำพริก บ้างก็นำถั่วเน่าที่ตำผสมกับพริกและหัวหอมมายัดใส่ในดอกแล้วนำไปปิ้งกิน มีรสขม แต่รสดีมาก หรือจะนำฝักอ่อนมาเผาแล้วขูดขนออก กินร่วมกับน้ำพริก โดยจะมีรสขมเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังใช้ดอกนำไปประกอบอาหาร เช่น การนำมาผัด แต่ไม่นิยมนำไปแกง |
||
แหล่งข้อมูล Reference คิวอาร์โค้ด QR Code |
- สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา น. 148
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด จะเริ่มให้ดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4-8 ปี |
||
|