|
|
ชื่อ Thai Name |
คันทรง Khan song |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Colubrina asiatica (L.) Brongn. var. asiatica |
|
วงศ์ Family |
RHAMNACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กะทรง kasong (ภาคใต้) ก้านเถิง kan thueng, ผักก้านถึ่ง phak kan thueng (ภาคเหนือ) เพลโพเด๊าะ phle-pho-do (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน) Lather leaf |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอก ขนาดใบกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร ปลายและฐานใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นใบมี 3 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบและกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก รูปจาน 8-14 ดอก สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น ผลเดี่ยว รูปกลมแป้น สีเขียวเข้ม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เรียงห้อยลงเป็นแถวตามกิ่ง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
ในประไทยพบขึ้นทั่วไป ยกเว้นภาคตะวันออก |
||
ประโยชน์ Utilization |
นิยมปลูกไว้เป็นอาหารและยาตามบ้านเรือน ราก แก้ตานขโมย แก้ร้อนในกระหายน้ำ เปลือกและใบ แก้เม็ดผดผื่นคัน รักษาอาการบวมเนื่องจากโรคไต และโรคหัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เหน็บชา แก้บวมทั้งตัว Root: relief of thirst ; Stem bark and leaf: antipruritic |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 60 - 61 - พจนานุกรมสมุนไพรไทย น. 179 - สารานุกรมสมุนไพร น. 226 - กกยาอีสาน น. 68 - สมุนไพรไทย น. 78 - การศึกษาฯ พ่อใหญ่จารย์เคน ลาวงศ์ น. 41 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771068 m.E 1521593 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ดหรือการปักชำ เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและดินเหนียวทั่วไป |
||
|