|
|
ชื่อ Thai Name |
คุย Khui |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Willughbeia edulis Roxb. |
|
วงศ์ Family |
APOCYNACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กะตังกะติ้ว katang ka tio (ภาคกลาง) คุยกาย khui kai, คุยช้าง khui chang (ปราจีนบุรี) คุยหนัง khui nang (ระยอง) หมากยาง mak yang (ศรีสะเกษ) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถาเนื้อแข็ง มีมือเกาะ เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกต้นสีน้ำตาล น้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกสีเหลือง ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก มีรสฝาด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย แก้บิด แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก เถา มีรสฝาด แก้ประดงเข้าข้อ แก้ลมชักในข้อกระดูก แก้มือเท้าอ่อนเพลีย แก้บิด แก้คุดทะราด เปลือกต้น มีรสฝาด แก้ปวดศีรษะ น้ำยาง มีรสฝาดร้อน รักษาแผล แก้คุดทะราด ผลดิบ รสเปรี้ยวฝาด ผลแห้งย่างไฟ บดทาแผล ผลสุก มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ หล่อลื่นลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก Root: remedy for sore throat ; Stem bark: relief of headache |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน น. 166-167 - สารานุกรมสมุนไพร น. 226 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|