|
|
ชื่อ Thai Name |
แคยอดดำ Khae Yot Dam |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Stereospermum fimbriatum (Wall. ex G. Don) A. DC.
|
|
วงศ์ Family |
BIGNONIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
แคทราย (เชียงใหม่) แคฝอย (ภาคเหนือ กระบี่ ปัตตานี) จีจา (มลายู-นราธิวาส) จีอา (มลายู ปัตตานี) Snake tree |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 12-20 เมตร โคนต้นเป็นพูพอนขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทาอ่อน เป็นสะเก็ด ตามขวางบาง ๆ และช่องระบายอากาศอยู่ทั่วทั้งลำต้น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อย เรียงตรงกันข้าม รูปรีหรือรูปไข่แคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวเข้ม มีขนสั้น ๆ ปกคลุมทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีม่วงอมดำ มีขนสีเหลืองเหนียว ดอก สีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ที่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่งพร้อมกับผลิใบใหม่ ช่อดอกห้อย ลง ดอกย่อยรูปแตร กลีบเลี้ยงและโคนกลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบดอกแตกเป็นฝอยแผ่บานออก ดอกบานตอนกลางคืนหรือเช้ามืดและร่วงตอนเช้า ผล ผลแห้งแตกสองตะเข็บ เป็นฝักทรงกระบอก บิดเป็นเกลียวหลวม ๆ สีเขียว เมื่อสุกสีน้ำตาล เมล็ด มีปีกสองด้านสีขาว
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นในป่าดิบชื้น ที่ราบทางภาคใต้ และป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ น้ำคั้นจากใบ หยอดแก้เจ็บหู ตำใบผสมกับน้ำมะนาวทาแก้คันตามผิวหนัง ราก น้ำต้มจากราก แก้ไข่ แก้เสมหะ เป็นยาบำรุงหลังคลอด
เนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง เหมาะใข้ทำฟืน ฝากระดาน ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
|
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 646 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 3 น. 252 - ต้นไม้เมืองเหนือ น. 270 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771201 m.E 1521440 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|