|
|
ชื่อ Thai Name
|
คำแสด Kham Saet |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Mallotus philippensis (Lam.) Müll. Arg. |
|
วงศ์ Family |
EUPHORBIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กายขัดหิน ขี้เนื้อ (เชียงใหม่) กือบอ ซาบอเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขางปอย ซาดป่า (นครพนม) ขี้เต่า (สุราษฎร์ธานี) คำแดง มะคาย แสด (ภาคกลาง) ชาตรีขาว (ภูเก็ต) ทองขาว (เลย) ทองทวย แทงทวย (ภาคกลาง ราชบุรี) พลับพลาขี้เต่า (นครศรีธรรมราช) พลากวางใบใหญ่ (ตรัง) มะกายคัด (ภาคเหนือ) มินยะมายา (มลายู-ยะลา) มือราแก้ปูเต๊ะ (มลายู-นราธิวาส) ลายตัวผู้ (จันทบุรี) สากกะเบือละว้า (พิษณุโลก สุโขทัย) Monkey-faced tree
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูงถึง 8 เมตร เปลือกต้น สีน้ำตาลปนเทาและมักมีร่อง กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาล และมียางสีแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ดอกช่อ แยกเพศร่วมต้น ไม่มีกลีบดอก ออกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ผลมี 3 พู มีขนสีแดงสั้นนุ่มและโค้งปกคลุม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามชายฝั่งทะเล ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงจากระดับทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่แถบหิมาลัย ศรีลังกา พม่า อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ถึงไต้หวัน ออสเตรเลีย และตลอดจนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ปลูกเป็นไม้ประดับ ราก ใบ และขนผล แก้บาดแผลอักเสบ แก้สิว และลอกฝ้า แก่น แก้โรคเส้น แก้ปัสสาวะแดงหรือเหลือง เปลือกต้น มีรสเฝื่อนใช้รักษาโรคผิวหนัง ใบและดอก มีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาพอกบาดแผล ใบและผล แก้หวัด ดอกและเปลือกต้น มีรสเฝื่อน ใช้เป็นยารักษาแผลเรื้อรัง เมล็ด แก้โรคเรื้อน แก้ไข้ แก้เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ขับพยาธิ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 158 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 122-123 - สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ปีที่2 ฉบับที่ 13 - สารานุกรมสมุนไพรไทย น. 235 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 440 - สมุนไพรไทย น. 82, สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 696 - การศึกษาฯ พ่อใหญ่จารย์เคน ลาวงศ์ น. 44
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|