|
|
ชื่อ Thai Name |
คราม Khram |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Indigofera tinctoria L. |
|
วงศ์ Family |
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
นะฆอ na-kho (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) True indigo |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ กลีบดอกสีชมพูอมแดง ผลเป็นฝัก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชีย |
||
ประโยชน์ Utilization |
ลำต้น แก้กระษัย แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ เปลือกต้น แก้พิษงู แก้พิษฝี แก้บวม ใบ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ ทั้ง 5 แก้บวม เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้กระษัย คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม มาย้อมผ้า สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม แต่ต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง ครั้งแรก ๆ อาจได้เป็นสีฟ้าเข้ม ในการหมักนั้นมีกรรมวิธีที่เรียกว่า การ 'เลี้ยงคราม' หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า 'ตาย' น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงสีครามในที่สุด ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม แหล่งผลิตผ้าทอมือย้อมครามที่มีคุณภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง คือจังหวัดสกลนคร เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวผู้ไทและมีการต่อยอด ออกแบบสีและลวดลายให้มีความปราณีตสวยงาม Fresh stem: dye (blue) |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน น. 46 - สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 126 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 574 - สารานุกรมสมุนไพร น. 149 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|