|
|
ชื่อ Thai Name |
คำฝอย Kham foi |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Carthamus tinctorius L. |
|
วงศ์ Family |
ASTERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
คำ (ทั่วไป) คำยอง (ลำปาง) ดอกคำ (ภาคเหนือ) False saffron |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก สูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดอกเป็นกระจุก ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง ผลแห้งไม่แตก เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยมีแหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
||
ประโยชน์ Utilization |
ดอก รสหวาน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงประสาท เป็นยาระบาย ขับระดู ขับเหงื่อ รักษาโรคดีซ่าน เมล็ด แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดมดลูกหลังคลอดบุตร เป็นยาระบาย น้ำมันจากเมล็ด ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ดอกแก่ ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง ส่วนที่ให้สี : ดอกให้สีแดงใช้ย้อมผ้า Dried flower: cardiotonic, nerve tonic, emmenagogue ; Seed: purgative, expectorant, emmenagogue; external use as anti-inflammatory, treatment of skin diseases ; Water extract from flower: coloring agent |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 74 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 592 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 399 - การศึกษาฯ พ่อใหญ่จารย์เคน ลาวงศ์ น. 43 - สวนนานาพฤกษาสมุนไพร น. 48 - พจนานุกรมสมุนไพร น. 187 - การศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาดองเหล้าในภาคเหนือของประเทศไทย
|
||
พิกัด UTM |
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอก คือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว |