|
|
ชื่อ Thai Name |
คว่ำตายหงายเป็น Khwam tai ngai pen |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Bryophyllum pinnata (Lam.) Oken |
|
วงศ์ Family |
CRASSULACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กระลำเพาะ ต้นตายใบเป็น นิรพัตร เบญจฉัตร (ภาคกลาง) กะเร (ชลบุรี ภาคใต้) กาลำ (ตราด) แข็งโพะ (นครราชสีมา) ต้นตายปลายเป็น (จันทบุรี) ตาละ (มลายู-ยะลา) ปะเตียลเพลิง (เขมร-จันทบุรี) เพรอะแพระ (ประจวบคีรีขันธ์) โพะเพะ (นครราชสีมา) มะตบ ล็อบแล็บ ลุบลับ ลุมลัง (ภาคเหนือ) ยาเท้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ส้มเช้า (ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้) Air plant, Goethe plant, Life plant, Miracle leaf |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก สูง 1 เมตร อวบน้ำ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมากนัก เมื่อยังอ่อนตามข้อจะบวมมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแต้มใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ขอบใบหยัก รูปรีแกมรุปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร โคนและปลายใบมน เนื้อใบหนา อวบ ตรงขอบใบมีสีม่วง ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบรองดอก แยกเป็นแฉก กลีบดอกสีแดง เป็นหลอดผล เมื่อแก่จัดจะแห้งและแตกด้านข้าง ผลแห้ง เมล็ด รูปขอบขนานแกมรี มีขนาดเล็ก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นในดินที่ระดับความสูงจากระดับทะเล 0-1,000 เมตร |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นยาฆ่าเชื้อ ถอนพิษ ห้ามเลือด น้ำคั้นจากใบ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้อหิวาตกโรค ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไขข้ออักเสบ รักษาหิด แก้เคล็ดขัดยอก ทั้ง 5 ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย รักษาและบรรเทาอาการปวดริดสีดวงทวาร : นำใบเพสลาดมาตากให้แห้งสนิท แล้วนำมาตำหรือบดให้เป็นผงละเอียด นำผงสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ มาชงในน้ำร้อน 1 แก้วชา แล้วเติมน้ำผึ้งป่า จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน แล้วนำมาดื่มอุ่น ๆ 3 ครั้งต่อวัน แก้ไข้ แก้ปวดหัวจากความร้อน : นำใบมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาขยำกับน้ำ จากนั้นนำมาชโลมศีรษะให้เปียกชุ่มตลอดเวลาจนกว่าอาการจะดีขึ้น รักษาอาการปวดบวม แผลอักเสบ แก้พิษฝี รักษาแผลไฟไหม้พุพอง น้ำร้อนลวก : นำใบมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกแผลบริเวณที่มีอาการบ่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้ามีอาการมากหรือแผลเปิด คั้นเอาแต่น้ำแล้วเอาขนไก่ชุบทา เคล็ดขัดยอกช้ำบวม : ล้างให้สะอาดทุบให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาวันละ 2-3 ครั้ง หรือตำผสมเหล้านำไปทาร่วมกับการนวด Leaf: external use for burn and wound |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา น. 136 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 35-37 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 514 - สารานุกรมสมุนไพร น. 151 - พจนานุกรมสมุนไพร น. 170 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771070 m.E 1521557 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การใช้เมล็ดหรือใบในการขยายพันธุ์ |
||
|