|
|
ชื่อ Thai Name |
คำรอก Kham rok |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Ellipanthus tomentosus Kurz |
|
วงศ์ Family |
CONNARACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กะโรงแดง karong daeng, หมาตายทากลาก ma tai thak lak (ภาคตะวันออก) จันนกกด chan nok kot (นครราชสีมา) ช้างน้าว chang nao (นครราชสีมา ราชบุรี) ตานกกดน้อย ta nok kot noi (สุรินทร์) ประดงเลือด pradong lueat (สุโขทัย) ลาเกาะกายู la-ko-ka-ya (มลายู-ภาคใต้) หำฟาน ham fan (เชียงใหม่) อุ่นขี้ไก่ un khi kai (ลำปาง) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูงถึง 30 เมตร กิ่งก้านมีขนละเอียดสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ กลีบดอกสีขาว ผลแห้งแตก มีขนสีน้ำตาล เมล็ดสีดำ เยื่อหุ้มสีแดงสด |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ในต่างประเทศพบในเมียนมาร์ อินโดจีน และมาเลเซีย |
||
ประโยชน์ Utilization |
ลำต้นและกิ่งก้าน แก้ปวดท้องเกร็ง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคหืด เปลือกและแก่น แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) Stem bark and Wood: treatment of kidney diseases |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 114 - สมุนไพรไทย น. 81 - พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 97 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|