|
|
ชื่อ Thai Name |
โคคลาน Kho khlan |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Croton caudatus Geiseler |
|
วงศ์ Family |
EUPHORBIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กระดอหดใบขน (จันทบุรี) กูเราะปริยะ (มลายู-นราธิวาส) โคคลานใบขน (ทั่วไป) ปริก (ตรัง) สมอน้ำ (ตราด) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบและดอกมีขนรูปดาว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกคายมือ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง ขอบใบหยัก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีน้ำตาลนวล ผล กลม เรียบ มี 3 พู เมล็ด รูปรี มีขนรูปดาว |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบกระจัดกระจายในป่าผลัดใบ ถึงระดับความสูงจากระดับทะเล 100 เมตร ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย สกลนคร มหาสารคาม ภาคตะวันตกเฉียงใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคกลาง จังหวัดอ่างทอง นนทบุรี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ภาคใต้ นราธิวาส ยะลา สตูล สงขลา ในต่างประเทศพบที่ประเทศศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมาร์ อินโดจีน |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก เป็นยาระบาย ลดไข้ ใบ ลดไข้ แก้ปวดข้อ และแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยอดอ่อน แก้โรคตับอักเสบ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในประเทสไทย ตอนที่ 3 น. 66-67 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 658 - สารานุกรมสมุนไพร น. 158 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771076 m.E 1521437 m.N 47P 0771073 m.E 1521429 m.N 47P 0771144 m.E 1521519 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง |
||
|