|
|
ชื่อ Thai Name |
ครามใหญ่ Khram Yai |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Indigofera suffruticosa Mill. |
|
วงศ์ Family |
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ครามเถื่อน ความผี (เชียงใหม่) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 2.5 เมตร ลำดับสีน้ำตาลอมม่วง มีขนสีขาวปกคลุม ดอกช่อกระจะ รูปดอกถั่ว สีแดงอมชมพู ออกที่ตาข้าง ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรี ปลาบใบแหลมมีติ่ง โคนใบรีกลม ขอบใบหยัก ผล เป็นฝัก งอคล้ายรูปเดียว ฝักแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดสีน้ำตาล |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว ที่มีความสูงจากระดับทะเลตั้งแต่ 35 เมตร ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ รสเย็นฝาดเบื่อ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด แก้ปวดศีรษะ ทั้งต้น รสเย็นฝาดเบื่อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่น เปลือกต้น รสเย็นฝาดเบื่อ แก้พิษฝี ราก รสเฝื่อน ขับเสมหะ ใบ นำมาหมักแช่ในน้ำปูนขาวทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จะเห็นครามตกนอนอยู่ก้นภาชนะที่ใส่ไว้ สามารถนำมากรองแล้วทำให้แห้ง เพื่อใช้ในการย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำเงิน โดยสีที่ได้จะไม่ตก ซึ่งทางภาคเหนือของประเทศมักจะใช้ครามนี้มาย้อมผ้าให้เป็นสีกรมท่าหรือน้ำเงินแก่ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
: https://medthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2% e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88/ | Medtha |
||
พิกัด UTM คิวอาร์โค้ด QR Code |
-
|
วิธีใช้"แก้ไข้ตัวร้อน" นำใบของครามใหญ่ 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ต้มเดือด 10-15 นาที ในน้ำท่วมตัวยา กรองกากออก ปล่อยให้เย็น ใช้ดื่มก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน
|
ข้อควรระวัง ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิติดต่อกันเกิน7วัน หรือใช้ได้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |