|
|
ชื่อ Thai Name |
เขยตาย Khoei tai |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. |
|
วงศ์ Family |
RUTACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กระรอกน้ำ krarok nam (ชลบุรี) กระรอกน้ำข้าว กระโรกน้ำข้าว krarok nam khao (ภาคกลาง ชลบุรี) เขนทะ khen tha (ภาคเหนือ) ตาระแป ta-ra-pae (มลายู-ยะลา) น้ำข้าว nam khao (ภาคกลาง ภาคใต้) ประยงค์ใหญ่ prayong yai (กรุงเทพฯ) พุทธรักษา phuttha raksa (สุโขทัย) มันหมู man mu (ประจวบคีรีขันธ์) ลูกเขยตาย luk khoei tai ส้มชื่น som chuen (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 1-5 ใบ รูปวงรีแกมขอบขนานรูปไข่กลับ ดอกช่อ สีขาว ออกที่ซอกใบ มีกลิ่นหอม ผลสด รูปกลม ขนาดปลายนิ้วก้อย เมื่อสุกสีชมพู รสหวาน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ของไทย ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ จีนตอนใต้ ประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด แก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย เปลือกและเนื้อไม้ แก้ฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ดอกและผล รักษาหิด Root: anti-inflammatory for snake and insect bite ; Flower and fruit: scabies |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 129 - สมุนไพรไทย น. 69 - สารานุกรมสมุนไพร น. 141 |
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 24.3" E 13º 45´ 00.1" N 47P 0770840 m.E 1521052 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ |
||
|