|
|
ชื่อ Thai Name |
ขยัน Khayan |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Lysiphyllum strychnifolia (Craib) A. Schmitz |
|
วงศ์ Family |
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
เครือขยัน khruea khayan (ภาคเหนือ) สยาน sayan (ตาก ลำปาง) ย่านางแดง หญ้านางแดง ya nang daeng (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกลถึง 5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ มือพันออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีแดง ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน ปลายแหลม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค |
||
ประโยชน์ Utilization |
รากหรือลำต้น บำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น เปลือกต้น ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา แต่ควรทำซุ้มให้แข็งแรงเพราะเถามีน้ำหนักมาก ควรหมั่นตัดแต่งบ่อย ๆ เปลือก นำมาลอกทำเชือกได้ ยอดและดอกอ่อน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก Root or stem: blood tonic for post-labour ; Stem bark: astringent, antidiarrheal |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
กกยาอีสาน น. 38-39 สมุนไพรไทย น. 58 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 391 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771435 m.E 1520761 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง |
||
|