|
|
ชื่อ Thai Name
|
พะวา Pha wa |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Garcinia speciosa Wall. |
|
วงศ์ Family
|
CLUSIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
กวักไหม หมากกวัก ส้มโมงป่า (หนองคาย) กะวา (สุราษฎร์ธานี) ขวาด (เชียงราย) ชะม่วง (พิจิตร) มะดะขี้นก (เชียงใหม่) มะป่อง (ภาคเหนือ) วาน้ำ (ตรัง) สารภีป่า (ภาคกลาง เชียงใหม่)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวหม่น ดอกช่อ สีครีมหรือเหลืองนวล ผลกลม เมื่อสุกสีส้ม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบตามป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับทะเลถึง 700 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่เมียนมาร์ อินเดีย และเกาะนิโคบาร์
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือกต้นหรือแก่น ฟอกโลหิต ช่วยให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ใบ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ดอก แก้ไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร เปลือกผล แก้ท้องเสีย
|
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- กกยาอีสาน น. 118 - พจนานุกรมสมุนไพร น. 553-554
|
||
พิกัด UTM |
47P 0734110 m.E 1603406 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกสภาพที่มีความชื้นสูง ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดแบบเต็มวัน |
||
|