พืชหายาก
ใช้ในงานพระราชพิธีพระบรมศพ
พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครปฐม
|
|
ชื่อ Thai Name |
จันทน์หอม Chan hom |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Mansonia gagei J. R. Drumm. ex Prain |
|
วงศ์ Family |
MALVACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
จันทน์ chan, จันทน์ขาว chan khao, จันทน์ชะมด chan chamot, จันทน์พม่า chan phama (ทัวไป) Kalamet |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรี ปลายแหลมมน โคนใบป้านเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีขาว ผลรูปกระสวย มีปีกทรงสามเหลี่ยมหนึ่งปีก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและตามเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับทะเล 200-400 เมตร ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลแก่เดือนธันวาคม-มกราคม |
||
ประโยชน์ Utilization
|
ลำต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ และบำรุงหัวใจ เนื้อไม้และแก่น แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน บำรุงกำลัง แก้ไข้ ใบ บำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้จุกเสียด เรียกจันทน์เพราะเนื้อไม้มีกลิ่นหอม สมัยก่อนนิยมใช้ทำดอกไม้จันทน์ ท่อนจันทน์ที่ใช้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช และพระรัฎฐาธิราชกุมารก็เป็นจันทน์ชนิดนี้ เนื่องจากเป็นพืชหายาก ปัจจุบันดอกไม้จันทน์ที่ทำจากจันทน์หอมนิยมใช้เฉพาะในพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระศพ ส่วนดอกไม้จันทน์ที่ใช้ในงานศพทั่วไป มักทำจากไม้สัตบรรณหรือไม้โมกมัน นอกจากนี้ ยังนิยมนำเนื้อไม้มาแกะสลักหรือกลึงเป็นตลับ เครื่องแป้ง พัด หรือพระพุทธรูป Stem: carminative, cardiotonic ; Wood: relief of dizziness, cardiotonic, tonic |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 689 - 690 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำ |
||
ข้อควรระวัง ยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษอย่างไรก็ตามไม่ควรใช้สมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน
|