|
|
ชื่อ Thai Name
|
เจตมูลเพลิงแดง Chetta mun phloeng daeng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Plumbago indica L.
|
|
วงศ์ Family
|
PLUMBAGINACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ไฟใต้ดิน (ภาคใต้)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ใบบาง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด มีดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก มีต่อมทั่วไป ออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง สีแดง หลอดกลีบดอกปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาด มีขนยาวที่โคน ผลแห้งแตก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับลม กระจายลม รักษาริดสีดวง แก้คุดทะราด ลำต้น ขับโลหิตระดู แก้ปวดท้อง ใบ ขับเสมหะ ดอก รักษาโรคตา ทั้ง 5 ช่วยย่อยอาหาร บำรุงไฟธาตุ ขับลม แก้ปวดท้อง |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 169 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 134 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 160-161 - สมุนไพรไทย น. 98 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 734 - สารานุกรมสมุนไพร น. 173
|
||
พิกัด UTM |
47P 771073 m.E 1521558 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร พื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นแฉะ |
||
|