|
|
ชื่อ Thai Name |
เจตพังคี Chetta phang khi |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Cladogynos orientalis Zipp. ex Span. |
|
วงศ์ Family |
EUPHORBIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ตองตาพราน tong ta phran (สระบุรี) ตะเกีย ta kia, หนาดตะกั่ว nat takua (นครราชสีมา) ใบหลังขาว bai lang khao (ภาคกลาง) เปล้าเงิน plao nam ngoen (ภาคใต้) มนเขา mon khao (สุราษฎร์ธานี) สมี sami (ประจวบคีรีขันธ์) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร กิ่งก้านมีขนเป็นรูปดาวสีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาลขรุขระ ทุกส่วนมีขน ใบเดี่ยว เรียงเวียน ท้องใบสีเทา ดอกออกที่ง่ามใบ สีเหลือง ผลมี 3 พู
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าดิบ ป่าไม่ผลัดใบ ป่าเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับทะเล 200-500 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่จีน อินเดีย อินโดจีน และมาเลเซีย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือใช้ภายนอกโดยฝนกับน้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูรทาท้องเด็กอ่อน ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง ทั้งต้น ต้มน้ำหรือทำเป็นผง หรือดองเหล้า กินแก้ลมจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ราก ผสมกับรากกำยาน ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หรือผสมกับไพล กระทือบ้าน กระทือป่า กระเทียม ขิง พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง บดเป็นผง ละลายน้ำ เติมน้ำตาลทรายพอหวานดื่มเป็นยารักษาธาตุ เจริญอาหาร ขับลมที่คั่งในลำไส้ และกระเพาะอาหาร Whole plant: carminative, antidiarrheal |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 72 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 728 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771072 m.E 1521432 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|