|
|
ชื่อ Thai Name |
จุกโรหินี Chuk rohini |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Dischidia major (Vahl) Merr. |
|
วงศ์ Family |
APOCYNACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กล้วยไม้ kluai mai (ภาคเหนือ) โกฐพุงปลา kot phung pla (ภาคกลาง) เถาพุงปลา thao phung pla (ภาคตะวันออก ระนอง) นมตำไร nom- tam-rai (เขมร) บวบลม buap lom (ภาคตะวันออก) พุงปลาช่อน phung pla chon (ภาคกลาง) Ant plant |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถาอิงอาศัย เลื้อยทอดตามต้นไม้ มีรากยึดเกาะที่ข้อ เถากลม สีเขียวใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีใบ 2 แบบ คือ แบบแบนเป็นเหลี่ยม รูปร่างคล้ายถุง ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีม่วง และแบบ ใบธรรมดา รูปค่อนข้างกลม ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น ดอกช่อ ออกตรงข้ามกับใบ โคนกลีบดอกเชื่อม ปลายเป็นรูปกรวย ขอบกลีบมีขน ผล เป็นฝัก ผิวขรุขระ สีเหลืองแกมส้ม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้ปวดเบ่ง บิดมูกเลือด ใช้สมานแผลภายนอก ราก เคี้ยวกับพลู แก้ไอ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง วิธีใช้ “แก้ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ” นำจุกโรหินีทั้งต้นมา 2 กำมือ ต้มเดือด 10-15 นาที ในน้ำท่วมตัวยา กรองกากออก รอให้เย็น ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ Root: antipyretic, relief of thirst, antidiarrheal, anti-emetic |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 727-728 - สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 111 - สมุนไพรไทย น. 96 - สารานุกรมสมุนไพร น. 171 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|