|
|
ชื่อ Thai Name
|
เจตมูลเพลิงขาว Chetta mun phloeng khao |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Plumbago zeylanica L.
|
|
วงศ์ Family
|
PLUMBAGINACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ปิดปิวขาว (ภาคเหนือ)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ยาว 3-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว ตอนปลายเป็นติ่ง โคนในรูปลิ่มหรือมน ใบบาง ดอก แบบช่อกระจะเชิงลด ออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกจำนวนมาก แกนกลางและก้านช่อดอกมีต่อมไร้ก้าน (เจตมูลเพลิงแดงไม่มี) ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15 เซนติเมตร ก้านช่อยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ยาว 0.4-0.8 เซนติเมตร ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีต่อมหนาแน่น กลีบดอกสีขาว ผล แบบแคปซูล แห้งแตก
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าที่ราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบทั่วไป ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ รักษาโรคผิวหนัง รักษาริดสีดวง แก้คุดทะราด ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ลำต้น ขับโลหิตระดู แก้ปวดท้อง ใบ ขับเสมหะ ดอก รักษาโรคตา ทั้ง 5 ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา น. 173 สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 193 พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 162 - 163 สมุนไพรไทย น. 97 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 729 สารานุกรมสมุนไพร น. 172
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เป็นไม้ในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นและที่แฉะ |
||
|