|
|
ชื่อ Thai Name
|
ตะขาบหิน Ta khap Hin |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Homalocladium platycladum (F. Muell.) L. H. Bailey |
|
วงศ์ Family |
POLYGONACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ตะขาบปีนกล้วย (ภาคกลาง) เพว เฟอ (กรุงเทพฯ) ว่านตะขาบ (เชียงใหม่) ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ)
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ต้นอ่อนแบน สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล กลม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอก แยกเพศคนละต้น ออกช่อกระจุกที่ข้อต้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผล ทรงกลม ฉ่ำน้ำ มี 5 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ แก้หูน้ำหนวก ทั้ง 5 แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก แก้พิษตะขาบและแมงป่อง ในทางสมุนไพร ทั้งต้น รสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน พิษฝี แก้ไอ แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ต้นและใบสด รสหวานสุขุม ตำผสมเหล้าพอกหรือคั้นน้ำทาถอนพิษแมงป่องและตะขาบ แก้บวม เคล็ดขัดยอก วิธีใช้ “แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย” นำทั้งต้นมาล้างให้สะอาด |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 170 - สมุนไพรไทย น. 120 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 58-59 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง ไม่มีรายงานการวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |
||
|