สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชลบุรี


 

                     

 

                              

 

 

    

ชื่อ

Thai Name

ประดู่

Pra du


ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name  

Pterocarpus macrocarpus Kurz 



วงศ์

Family

FABACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name

จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ฉะนอง (เชียงใหม่) ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี) Burmese rosewood


ลักษณะ 

Characteristics

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 30 เมตร เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ  แตกเป็นร่องลึกหรือเป็นแผ่นหนา สับเปลือกมีน้ำยางสีแดง กิ่งมีขน ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านและแกนช่อใบมีขน ใบย่อย 7-9 ใบ เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนมนกลมหรือตัด ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน  ด้านล่างมีขน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ง่ามใบ  ดอกย่อยจำนวนมาก ก้านและแกนในช่อดอกมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ผิวมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกรูปดอกถั่วสีเหลือง กลีบกลางรูปกลมหรือไข่กลับ กลีบพับจีบ โคนสอบแหลมเป็นก้านกลีบ กลีบคู่ข้างรูปไข่กลับเบี้ยว กลีบคู่ล่างรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกเป็น 2 มัด  (9+1) รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ มีขนยาว ก้านชูรังไข่สั้น ยอดเกสรเป็นตุ่มขนาดเล็ก ผลเป็นฝักแบน รูปกลมมีปีกโดยรอบ

    

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่พม่าและลาว ออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่ สามเดือนหลังจากออกดอก


ประโยชน์            

Utilization

เปลือกต้น สมานแผล แก้ท้องเสีย แก่น รักษาคุดทะราด แก้ไข้ บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้พิษเบื่อเมา แก้ผดผื่นคัน และทำให้เลือดลมซ่าน ใบ พอกฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน


เนื้อไม้ สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง


ส่วนที่ให้สี : แก่นให้สีแดงคล้ำ


แหล่งข้อมูล

Reference

        

- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 109

- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 194

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 553 

- พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 202-203


พิกัด

UTM

47P 0770763 m.E 1520967 m.N

47P 0770865 m.E 1521019 m.N

47P 0770901 m.E 1521076 m.N

47P 0770901 m.E 1521127 m.N

47P 0770911 m.E 1520782 m.N


คิวอาร์โค้ด

QR Code

ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด

วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด ก่อนเพาะ ตัดปีก แช่น้ำประมาณ 48 ชั่วโมง

ข้อสังเกตและผลการทดลอง  

1.   เมล็ดจะงอกภายในเวลาประมาณ 10 วัน         
2.   ขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะในการย้ายชำลงถุง เมื่อกล้าแตกใบคู่ที่สองมีความสูง ประมาณ 5-6  เซนติเมตร                                      
3.   สามารถแยกปลูกด้วยเหง้า
4.   ระยะเวลา 5 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร สามารถย้ายปลูกได้

                                                                                                                                                                                                                                 

            

 

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  [Next]
view