|
|
ชื่อ Thai Name
|
เปล้าน้อย Plao noi |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Croton stellatopilosus H. Ohba |
|
วงศ์ Family
|
EUPHORBIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เวียนรอบกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 5–9 เซนติเมตร ยาว 11–20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อเหนือรอยแผลใบใกล้ยอด สมบูรณ์เพศ สีเหลืองอมเขียว ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 7–12 มิลลิเมตร นักวิจัยจากบริษัทไทยซังเกียว จำกัด ผู้ผลิตยารายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ได้ขอความร่วมมือจากนักธุรกิจและนักวิชาการป่าไม้ของไทย สำรวจการกระจายของเปล้าน้อย และนำใบไปสกัดพบสารเปลาโนโทล (Plaunotol) ผลิตเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีชื่อการค้าว่า Kelnac จดทะเบียนกับองค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ. 2526 ความจริงบริษัทได้จดสิทธิบัตรเฉพาะกรรมวิธีการสกัดสารเปลาโนโทล ไม่ได้ห้ามนำเปล้าน้อยมาใช้รักษาโรคโดยกรรมวิธีอื่น เช่น ต้มน้ำดื่ม บดเป็นผงรับประทาน หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ถ้าคนไทย โดยเฉพาะนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรง หยุดตีโพย ตีพาย แล้วลงมือศึกษา วิจัย พืชสมุนไพรของไทยที่มีอยู่อีกหลายพันชนิดอย่างจริงจัง น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ในประเทศไทยพบที่ในจังหวัดปราจีนบุรี นครพนม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือกและใบ แก้ท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก่น แก้ช้ำใน บำรุงโลหิตประจำเดือน เปลือก ช่วยย่อยอาหารและแก้ท้องเสีย ดอก ขับพยาธิ |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 92 สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 176 สมุนไพรไทย น. 175 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 611-613
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดหรือชำกิ่ง |
||
|