|
|
ชื่อ Thai Name |
ปอกระสา Pro Krasa |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Broussonetia papyrifera (L.) Vent. |
|
วงศ์ Family |
MORACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ฉำฉา (นครสวรรค์) ชะดะโค (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) ชำสา (นครสวรรค์) เซงซะ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปอฝ้าย (ภาคใต้) สายแล (เงี้ยว ภาคเหนือ) ส่าแหล่เจ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หมอมี หมูพี (ภาคกลาง) Paper mulberry |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 6-10 เมตร กิ่งอ่อนเปราะ ลำต้นเปลา เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ลอกออกได้เป็นเส้นยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง ผิวใบสากคาย ขอบจัก ใบแก่จะเว้าลึกใกล้โคนใบ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า ดอกแยกเพศและแยกต้น ดอกเพศเมียเป็นช่อลักษณะเป็นก้อนกลมสีแดงแกมเหลือง ดอกเพศผู้ออกเป็นแกนช่อ ห้อยลง สีขาว ผลทรงกลม สีแดงสด เมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของประเทศพม่าและไทย ชอบขึ้นตามริมน้ำและที่ชื้น ในป่าที่ค่อนข้างโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงจากระดับทะเล 50-800 เมตร |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก เปลือกต้ม ผสมเหล้า ทำเป็นเม็ด เป็นยาบำรุงตับ ไต รากเปลือก เป็นยาขับลมในร่างกาย แก้บิด แก้บวมน้ำ ยาแก้อาเจียน เปลือกต้น เผาเอาเถ้าบดแต้มตาแก้ตาต้อ ใบ บดทำเป็นเม็ดกินแก้หูอื้อ ตามัว แก้ร้อนในตับ ในกระเพาะ แก้เลือดกำเดาไหลไม่หยุด แก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ตกเลือด ขับปัสสาวะเป็นหนอง ตำคั้นน้ำพอกแผลห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลฟกช้ำ ผลแห้ง ต้มน้ำดื่มหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม เป็นยาชูกำลังแก้อ่อนเพลีย ผลสุก เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม ไต บำรุงสายตา ตำพอกฝีหนอง บำรุงเส้นเอ็น กระดูก เปลือกต้น ใช้ทำกระดาษสา ใช้ในงานศิลปะต่าง ๆ เนื้อไม้ ใช้ทำตะเกียบ และไม้จิ้มฟัน เมล็ด เป็นอาหาราของนกและกระรอกได้ดี |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 24.5" E 13º 45´ 01.3" N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
|
||
|