|
|
ชื่อ Thai Name
|
รสสุคนธ์ Rot su khon |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Tetracera loureiri (Finet & Gagnep.) Pierre ex Craib |
|
วงศ์ Family
|
DILLENIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
เถากะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์) บอระคน อรคนธ์ (ตรัง) ปดคาย ปอเลื่อน (สุราษฎร์ธานี) ปดน้ำมัน (ปัตตานี) มะตาดเครือ รสสุคนธ์ขาว สุคนธรส เสาวรส (กรุงเทพฯ) ย่านปด (นครศรีธรรมราช)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบจัก ดอกช่อ สีขาว มีกลิ่นหอมแรง ผลเป็นฝัก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ ป่าชื้นทางภาคใต้ หรือป่าเบญจพรรณและป่าชายหาดหรือชายฝั่งทะเล ดอกรสสุคนธ์จะส่งกลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน สามารถออกดอกได้ปีละหลายครั้งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และจะออกดอกมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว หรือในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ดอกเข้ายาหอมเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน และแก้อ่อนเพลีย
|
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 188 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 204-205 - สมุนไพรไทย น. 256 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 585 - สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน น. 159 - สารานุกรมสมุนไพร น. 385
|
||
พิกัด UTM |
47P 0771149 m.E 1521544 m.N 47P 0772307 m.E 1521212 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม มีแสงรำไร และที่โล่งแจ้ง ทนความแห้งแล้งได้ดี |
||
|