พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
|
|
ชื่อ Thai Name
|
อะราง A rang |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Peltophorum dasyrrachis (Miq.) Kurz |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE
|
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
คางรุ้ง คางฮุ่ง (พิษณุโลก) จ๊าขาม ช้าขม (เลย) นนทรีป่า (ภาคกลาง) ร้าง อะล้าง (นครราชสีมา อุดรธานี) อินทรี (จันทบุรี)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10–30 เมตร เปลือกต้นสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล หูใบคล้ายเขากวาง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เวียนรอบกิ่ง ใบย่อย 6–18 คู่ รูปขอบขนาน โคนเบี้ยวเล็กน้อย ดอกช่อห้อยลง สีเหลือง ยาว 15–30 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบน ยาว 10–15 เซนติเมตร |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าชายหาด นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ให้ร่มเงา ในต่างประเทศพบที่กัมพูชา เวียดนามใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ถึงออสเตรเลียภาคเหนือ และปลูกทั่วไปในเขตร้อน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก แก้ท้องเสีย ขับลม ปิดธาตุ ขับโลหิตระดู กล่อมเสมหะและโลหิต แช่น้ำอาบ แก้ซางเด็ก ตำกับแตงไทย แก้ปากเปื่อย เนื้อไม้ สีขาวนวล ไสกบ ตกแต่งง่าย จึงนิยมนำมา ใช้ในงานก่อสร้างภายใน ทำเครื่องเรือน และไม้อัด เปลือกต้น รสฝาด รักษาโรคเกี่ยวกับโลหิต แก้ท้องเสีย ขับลม ขับประจำเดือน แช่น้ำอาบ แก้ซางเด็ก ตำกับแตงไทย แก้ปากเปื่อย |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 179 - สมุนไพรไทย น. 341 - พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 70-71 - สารานุกรมสมุนไพร น. 246
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 22.4" E 13º 45´ 05.6" N 47P 0770760 m.E 1520959 m.N 47P 0770892 m.E 1521080 m.N 47P 0770960 m.E 1521085 m.N 47P 0771003 m.E 1521139 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|