|
|
ชื่อ Thai Name
|
เอื้องหมายนา ueang mai na |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Cheilocostus speciosus (J. Koenig) C. D. Specht |
|
วงศ์ Family
|
COSTACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช) เอื้องต้น (ยะลา) เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) บันไดสวรรค์ เอื้องใหญ่ (ภาคใต้) Crape ginger, Malay ginger, Spiral flag
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัว ลำต้น สีแดง อวบน้ำ สูง 135 – 190 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่ง สีแดง มีดอกย่อย กลีบดอก สีขาว สีชมพู หรือเหลือง อับเรณูสีเหลือง ผลแห้ง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับทะเลตั้งแต่ 87-126 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่อินเดียตะวันออกจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก รสขมเมา ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไข้ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง เหง้า รสขมเมา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ตกขาว รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รักษาแผลมีหนอง อักเสบบวม ขับพยาธิ เป็นยาระบาย ตำพอกบริเวณสะดือ แก้ท้องมาน เป็นไม้ประดับ ใช้เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 85 - สมุนไพรไทย น. 345 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5) น. 397
|
||
พิกัด UTM |
47P 0771089 m.E 1521595 m.N 47P 0771400 m.E 1520904 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร |
||
คำเตือน : เหง้าสดมีพิษมาก ใช้ในปริมาณมากจะทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง ต้องทำให้สุกก่อน
|