|
|
ชื่อ Thai Name
|
เหงือกปลาหมอ Ngueak Pla Mo |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Acanthus ebracteatus Vahl |
|
วงศ์ Family |
ACANTHACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
แก้มหมอ (สตูล) แก้มหมอเล (กระบี่) จะเกร็ง นางเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป) อีเกร็ง (ภาคกลาง) Sea holly
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นกลมกลวง มีหนามตาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหอกยาว ขอบเว้ากว้าง ปลายแหลมแบบหนาม ดอกช่อ มีใบประดับ 2 ใบ ที่โคนแต่ละดอก กลีบดอก เป็นท่อ ปลายบานโต ปากล่าง ใหญ่กว่า สีม่วงอ่อนหรือฟ้าอ่อน มีแถบสีเหลืองตรง ผล เป็นฝักกลมรี รูปไข่ เปลือก สีน้ำตาล ปลายฝักป้าน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ลำต้น รสเค็มกร่อย ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ ทางสมุนไพร วิธีใช้เหงือกปลาหมอรักษาฝี ใช้ต้น ใบ ทั้งสดและแห้ง 1 กำมือ บดละเอียด พอกที่ฝี หรือสับเป็นชิ้นเล็ก ใส่น้ำให้ท่วมแล้วต้มเดือด ทิ้งไว้ 10 นาที ดื่มก่อนอาหาร ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 2-3 อาทิตย์ หรือจะใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เกรียม บดละเอียด ชงน้ำ เป็นยา วิธีใช้เหงือกปลาหมอแก้ผื่นคัน ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 34 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 214-215 - สมุนไพรไทย น. 338 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 1 น. 18-19 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5) น. 261-263 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
|
||
|