|
|
ชื่อ Thai Name
|
แสลงใจ Sa laeng chai |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Strychnos nux-vomica L. |
|
วงศ์ Family
|
LOGANIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
กระจี้ กะกลิ้ง โกฐกะกลิ้ง ตูมกาแดง (ภาคกลาง) แสงเบือ (อุบลราชธานี) แสลงทม แสลงเบื่อ (นครราชสีมา) Snake wood
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกต้น สีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอดเล็ก ปลายกลีบดอกแหลม ผลสด ทรงกลม ผิวเรียบ ผลอ่อน สีเขียว ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบน มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลำต้น แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย รักษาโรคผิวหนัง และบำรุงหัวใจ เมล็ด ใช้ในปริมาณน้อย บำรุงหัวใจและประสาท ใช้เบื่อหนูและสุนัข (นครราชสีมา) Snake wood ในทางสมุนไพร ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม วิธีใช้ “เมล็ดแสลงใจ” |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 195 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 201 - สมุนไพรไทย น. 310 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (4) น. 692-698 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 7 น. 14-15
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 26.4" E 13º 45´ 00.9" N 47P 0771133 m.E 1521510 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง |
||
ข้อควรระวัง เมล็ด ดอก หากรับประทานจะทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็ง และตายได้
|