พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกและเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย
พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดบึงกาฬ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพฤกษศาสตร์ พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกนี้ว่า Bauhinia sirindhorniae K. & S. S. Larsen
|
|
ชื่อ Thai Name
|
สิรินธรวัลลี Si rin thon wan li |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Phanera sirindhorniae (K. & S. S. Larsen) Mackinder & R. Clark |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
สามสิบสองประดง (หนองคาย)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10–20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง กว้าง 8–15 เซนติเมตร ยาว 10–18 เซนติเมตร โคนใบเว้า ปลายใบแยกเป็นสองแฉกตื้น ๆ หรือแยกลึกถึงโคนใบ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงเป็นช่อกระจะ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองส้มถึงแดง ผลเป็นฝักแบน กว้าง 3–5 เซนติเมตร ยาว 10–18 เซนติเมตร เมล็ดกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2 เซนติเมตร |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
สิรินธรวัลลีอยู่ในสกุลเดียวกันกับกาหลง ชงโค โยทะกา และอรพิม พบเฉพาะในประเทศไทย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ผู้อำนวยการส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2538 ในป่าดิบแล้ง บริเวณป่าภูทอกน้อย จังหวัดหนองคาย
ศาสตราจารย์ ดร.ไค ลาร์เสนและอาจารย์สุภีร์ ศักดิ์สุวรรณ ลาร์เสน แห่งมหาวิทยาลัยออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก นำไปศึกษาและตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ 17 (2) ค.ศ. 1997 ประกาศเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณป่าภูทอก นำพรรณไม้ชนิดนี้มาใช้เป็นสมุนไพรมานานแล้ว โดยนำรากและลำต้นตากแห้ง ฝนกับน้ำทารักษาฝีและหนอง ต้มกับน้ำดื่มแก้ปวดตามข้อ เส้นเอ็น (ประดงเส้น) แก้ลมพิษ (ประดงลม) ดอก ตากแห้ง ดองกับสุรา ช่วยให้เจริญอาหาร |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
FLORA OF THAILAND
|
||
พิกัด UTM |
47P 0770890 m.E 1521114 m.N 47P 0771086 m.E 1521567 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอกสวยงาม และออกดอกเกือบตลอดปี |
||
|