|
|
ชื่อ Thai Name
|
ว่านหอยแครง Wan hoi khraeng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Tradescantia spathacea Sw. |
|
วงศ์ Family
|
COMMELINACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กาบหอยแครง (กรุงเทพฯ) Oyster plant
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับ เรียงเวียนรอบต้น ท้องใบสีม่วง ดอกช่อ ออกที่โคนใบ ดอกสีขาว ผลแห้ง รูปไข่ เมื่อแก่แตกเป็น 3 ช่อง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
มีถิ่นกำเนิดในแถบเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง มีเขตการกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งทวีปเอเชีย
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ใบ แก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้ปอดและหลอดลมอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ฟกช้ำภายในเนื่องจากตกจากที่สูงหรือถูกของแข็ง แก้อาเจียนเป็นเลือด ดอก รสชุ่มเย็น ใช้แก้หวัด แก้ไอ แก้เสมหะมีเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิดจากแบคทีเรีย แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ราก เป็นยาบำรุงตับและม้ามพิการได้ดี แก้อาการตกเลือดในลำไส้ การนำไปใช้ตามตำรับยา
แก้หวัดไป มีเสมหะเป็นเลือด แก้บิดจากแบคทีเรีย : ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก ต้มน้ำดื่ม |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 179 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 155 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (4) น. 311 - 313 - สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 80 - 81
|
||
พิกัด UTM |
47P 0771354 m.E 1520751 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : ว่านหอยแครงขยายพันธุ์ด้วยไหลหรือยอดหรือปักชำในพื้นที่ปลูกในช่วงฤดูฝน หรือปักชำในถุงเพาะชำในโรงเรือนนอกฤดูฝน เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงครึ่งวัน |
||
|