|
|
ชื่อ Thai Name
|
ยางบง Yang bong |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Persea kurzii Kosterm. |
|
วงศ์ Family
|
LAURACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ยางโบง (นครพนม นครราชสีมา)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 10–15 เมตร ใบเดี่ยว เวียนรอบกิ่ง รูปหอกกลับหรือรูปรี กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 18–25 เซนติเมตร ดอก ออกที่ปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–10 มิลลิเมตร |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรั ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก บดละเอียดผสมขี้เลื่อยและกาวใช้ทำธูป ผสมกับกำมะถัน ใช้เป็นยากันยุง ทารอบโคนเสาป้องกันปลวกและมอด ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายรายปลูกยางบงตามหัวไร่ปลายนา ปลูกแทรกในระบบวนเกษตร และปลูกเป็นสวนป่า เพื่อนำเปลือกมาใช้ทำธูป แทนการเก็บหาจากป่าธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะหายากขึ้นทุกที |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
พฤกษาน่าสน น. 24
|
||
พิกัด UTM |
47P 0771136 m.E 1521495m.N |
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|