พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุบลราชธานี
|
|
ชื่อ Thai Name
|
ยางนา Yang na |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don |
|
วงศ์ Family
|
DIPTEROCARPACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ชันนา ยางตัง (ชุมพร) ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่วไป) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี) Yang
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 50 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลอ่อนหรือเทาปนขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6–15 เซนติเมตร ยาว 15–35 เซนติเมตร ดอกสีชมพู ออกตามง่ามใบใกล้ยอด ผลรูปขอบขนาน มีครีบตามความยาวผล 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณขึ้นทั่วไป ชอบขึ้นในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร และตามหุบเขา จนถึงที่ความสูงจากระดับทะเล 350 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่บังกลาเทศ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ตับอักเสบ น้ำมันยาง รักษาโรคเรื้อน หนองใน รักษาแผลเน่าเปื่อย ห้ามหนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ อุดฟัน แก้ฟันผุ ใบ คุมกำเนิด แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป น้ำมันใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ยาเครื่องจักรสาน ทำไต้ และใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ เนื่องจากเป็นไม้อเนกประโยชน์ โตเร็ว และขึ้นได้ในทุกภาคของประเทศ จึงน่าส่งเสริมให้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (4) น. 5-6 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 5 น. 596
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 28.4" E 13º 45´ 01.2" N 101º 30´ 17.44" E 13º 45´ 18.28" N 47P 0770573 m.E 1521784 m.N 47P 0770576 m.E 1521075 m.N 47P 0770575 m.E 1521703 m.N |
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด (เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 12 วัน และภายในเวลา 7 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงได้ประมาณ 30-35 เซนติเมตร และพร้อมที่จะย้ายไปปลูกได้) เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน |
||
|