|
|
ชื่อ Thai Name
|
ยี่หร่า Yi ra |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Ocimum gratissimum L. var. macrophyllum Briq. |
|
วงศ์ Family
|
LAMIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
กะเพราญวน (กรุงเทพฯ) จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน) จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่) โหระพาช้าง (ภาคกลาง)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้พุ่ม ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ขอบใบจัก ดอกช่อ กลีบดอกสีขาวอมเขียว ออกที่ปลายยอด ผลแห้ง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ใบ รักษาแผลในปาก ช่วยย่อย ขับปัสสาวะ แก้ปวด แก้ปวดท้อง อาเจียน เมล็ด แก้ปวดศีรษะ ปวดปลายประสาท และเป็นยาระบาย ยี่หร่าใช้เป็นเครื่องเทศที่สำคัญในแกงกะหรี่และมัสมั่น อาหารไทยใช้ใบยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่น แกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน มีน้ำมันระเหยง่าย เรียก น้ำมันยี่หร่า (cumin oil) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้ |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 172 - สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 214 - สมุนไพรไทย น. 254 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5) น. 291 - 294 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 113
|
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
การปลูก ยี่หร่าขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ |
||
|