|
|
ชื่อ Thai Name
|
ยางโอน Yang on |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Monoon viride (Craib) B. Xue & R. M. K. Saunders |
||
วงศ์ Family
|
ANNONACEAE |
|||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ขะมอบ (จันทบุรี) ขี้ซาก (เลย) ขึ้แฮด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ตองห่ออ้อย (เชียงใหม่) ตองเหลือง (ลำปาง เพชรบูรณ์) ยางดง (ราชบุรี) ยางโดน (ขอนแก่น แพร่ อุตรดิตถ์) ยางพาย (เชียงใหม่) ยางอึ้ง (พิษณุโลก สุโขทัย) สามเต้า (ลำปาง) อีโด่ (เลย)
|
|||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ ทรงใบรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบขนานกันชัดเจน โคนใบมน ปลายใบแหลมทู่ ขอบใบเรียบ หรืออาจเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ดอก โตสีเขียวอ่อน ออกเป็นกระจุก กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบ แต่ละกลีบมนและมีขนนุ่ม กลีบดอกรูปขอบขนานแคบมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ยาว 6-10 เซนติเมตร ผลกลุ่ม โดยผลย่อยเป็นรูปกลมรี เรียบเป็นมัน สุกแล้วเป็นสีเหลืองอมส้ม มี 1 เมล็ด |
|||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง บริเวณหุบเขาและลำธาร ในประเทศไทยพบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเล 300-500 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม ผลแก่เดือนมีนาคม–เมษายน
|
|||
ประโยชน์ Utilization
|
เนื้อไม้ สีขาวปนเหลืองอ่อน นิยมใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในร่ม
|
|||
แหล่งข้อมูล Reference
|
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=845
|
|||
พิกัด UTM |
47P 0771192 m.E 1521540 m.N 47P 0771523 m.E 1522605 m.N 47P 0771540 m.E 1522579 m.N 47P 0771606 m.E 1522647 m.N 47P 0771682 m.E 1522502 m.N |
|||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|