|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะกา Ma ka |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Bridelia ovata Decne. |
|
วงศ์ Family
|
PHYLLANTHACEAE
|
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
กอง (ภาคเหนือ) ก้องแกบ (เชียงใหม่) ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น) ซำซำ (เลย) มัดกา มาเดา (หนองคาย) ส่าเหล้า ศิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนซิกแซ็ก เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือตามกิ่ง สีเหลือง ผล กลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ เมล็ดเล็ก รูปไข่ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก แก้กระษัย สมานลำไส้ แก่น เป็นยาระบาย แก้กระษัย แก้ไตพิการ ฟอกโลหิต และขับเสมหะ ใบ ขับเสมหะและโลหิต แก้พิษตานซาง แก้พิษไข้ ขับลมในลำไส้ เป็นยาระบายอย่างอ่อน ในทางสมุนไพร : ใบ มีรสขม ชื่น ใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษตานซาง ถ่ายพิษไข้ ชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ แต่ต้องนำใบสดมาปิ้งไฟก่อนใช้ เพื่อไม่ให้มีอาการไซ้ท้อง เปลือกต้น มีรสขมฝาด ใช้แก้กระษัย เป็นยาสมานลำไส้ แก่น มีรสขม ใช้เพื่อแก้กระษัย ไตพิการ เป็นยาฟอกโลหิต ใช้ระบายอุจจาระธาตุ ขับเสมหะ |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 66 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 115 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 1 น. 44-45 - สมุนไพรไทย น. 213 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 478-480
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 27.6" E 13º 45´ 01.3" N 47P 0771075 m.E 1521044 m.N 47P 0771173 m.E 1521496 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน |
||
|